รวมพระคาถาสมเด็จโต คาถาบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คาถาสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม

รวมพระคาถาบูชาพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญของมหานิกาย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วทั้งประเทศ นอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว สมเด็จฯ ท่านยังมีชื่อเสียงด้านวิชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาแลกเปลี่ยนในตลาดพระต่อองค์เป็นหลักล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและวิชาคาถาอาคมของสมเด็จฯ ท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

นอกจากพระสมเด็จฯที่มีชื่อเสียงแล้ว สมเด็จฯ ท่านยังมีวิชา คาถาอาคม บทสวด ที่ตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่น บทสวดคาถาชินบัญชร และบทสวดอื่นๆ อีกมากมาย และที่ไม่ควรลืมคือ คาถาบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

คาถาบูชาสมเด็จ (โต)

(นะโม 3 จบ)

โอมศรีศรี พรหมรังสี
นามะเตโช มหาสัมมะโณ
มหาปัญโญ มหาลาโภ
มหายะโส สัพพะสิทธิ
ภะวันตุเม นะโม โพธิสัตโต พรหมรังสี

สวด 3 จบ ตั้งจิตอธิษฐานขอพรเทอญ

คาถาบูชาพระสมเด็จฯ วัดระฆัง

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ใช้สวดภาวนา บูชาพระสมเด็จฯ เมตตามหานิยม ประเสริฐนัก (คาถาบูชาบทนี้สามารถใช้ภาวนาบูชาพระสมเด็จได้ทุกวัด)

คาถาอารธนาพระสมเด็จฯ วัดระฆัง

โตเสนโต วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
โตสะจิตตัง นะมามิหัง

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คาถาสืบสร้างทางสวรรค์และนิพพาน

พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง
อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถาพุทธมังคลคาถา ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหฺมรํสี

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเณปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ
อิจเจวะมัจจัน ตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย

พระคาถาชินบัญชร (แบบย่อ)

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ
ปะ ริ ตัง มัง
รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา

(สวด 9 จบ) พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถาชินบัญชร (แบบเต็ม)

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

ชะยาสะนากะตา พุทธา
เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง

เย ปิวิงสุ นะราสะภา

ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง

มัตถะเกเต มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง

อุเร สัพพะคุณากะโร

หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง

โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม

อุภาสุง วามะโสตะเก

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง
สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน

โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร
มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง

ปะติฏฐาสิคุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ
อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา

นะลาเต ติละกา มะมะ

เสสาสีติ มะหาเถรา
วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา

ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ

อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ

วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ

เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา
สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา

พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ
อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ

สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ

เต มะหาปุริสาสะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ

พระคาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม คำแปล และประวัติพระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คำกล่าวขออโหสิกรรม ขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)

บทสวดอธิษฐาน ขอขมาโทษจากการกระทำกรรมชั่ว คำกล่าวขออโหสิกรรม ถอนความอาฆาต พยาบาท ทุกภพ ชาติ จากท่านขรัวโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง

สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจะกัมมัง

ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม.”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ศรัทธา ความเชื่อการสวดคาถาสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม

  • การสวดคาถาสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วยท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วทั้งประเทศ นอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว สมเด็จฯ ท่านยังมีชื่อเสียงด้านวิชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ”
*** ศรัทธา ความเชื่อ การกราบไหว้บูชา เป็นวิจารณญาณ ความเชื่อส่วนบุคคล ***

พระคาถาสมเด็จโตฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) บทอื่นๆ


ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:

  • เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
  • เว็บไซต์วิกิซอร์ซ (th.wikisource.org)

Leave a comment