คาถาบูชา พระพุทธโสธร หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา

คาถาบูชาพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา

สวดคาถาบูชาพระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหารแล้วจะปลอดภัย ชีวิตราบรื่น ร่มเย็น แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย ะนำความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ความปลอดภัย อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ชีวิตหน้าที่การงานราบรื่น

ประวัติ พระพุทธสิหิงค์ องค์จริง อยู่ที่ไหน

พระพุทธสิหิงค์องค์จริง อยู่ที่ไหน?

พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทย องค์จริงอยู่ที่ไหน ? อยู่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือนครศรีธรรมราช

ประวัติ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธปฏิมา ลังกา

ตำนานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธปฏิมา จากลังกา

พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทย มีพระพุทธสิงหิงค์หลายองค์ พระพุทธสิหิงค์กรุงเทพฯ, พระพุทธสิหิงค์เชียงใหม่, และพระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช

คาถา บทสวดพระคาถาชินบัญชร

บทสวดพระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม สวดคาถาชินบัญชรแล้วเสริมสิริมงคลชีวิต ขจัดภัยอันตรายตลอดจนคุณไสยต่างๆ

คาถา บทสวดอิติปิโส บทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย

บทสวดอิติปิโส สวดสรรเสริญพระรัตนตรัย

บทสวดมนต์อิติปิโส คืออะไร ?

บทสวดอิติปิโส บทสวดบทแรกของการสวดมนต์ เป็น บทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย ประกอบด้วยความ 3 ท่อน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ บทสวดนี้เป็นการรวมเอาถ้อยคำมงคลที่สำคัญๆ ซึ่งนอกจากเป็นการเริ่มการสวด สรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณแล้ว ยังเชื่อว่าการสวดอิติปิโส จะทำให้ใจสงบ เมื่อใจสงบ ย่อมเกิดสติ มีปัญหาอะไร ย่อมแก้ไขคลี่คลายได้โดยง่าย เป็นเหตุให้มีพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ประการต่างๆ ซึ่ง บทสวดมนต์ อิติปิโส มักเป็นการเริ่มสวดเพื่อสวดบทอื่นๆ ตามแต่ละบทสวด ได้แก่ อิติปิโส พาหุง หรือ หลายท่านอาจจะสวดอิติปิโส นพเคราะห์ บ้างก็สวดเท่าอายุ หรือ ใช้บทสวดอิติปิโส ถอยหลัง ตามแต่ความเชื่อ ความศรัทธา

รายละเอียดบทสวดอิติปิโส

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ.

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

บทสวดและคำแปล บทสวดอิติปิโส

บทสวดและคำแปลบทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา (เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)
อะระหัง (เป็นผู้ไกลจากกิเลส)
สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง)
วิชชาจะระณะสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ)
สุคะโต (เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี) โลกะวิทู (เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง)
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ (เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า)
สัตถา เทวะมนุสสานัง (เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
พุทโธ (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม)
ภะคะวาติ. (เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้)

บทสวดและคำแปลบทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม (พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว)
สันทิฏฐิโก (เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง)
อะกาลิโก (เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล)
เอหิปัสสิโก (เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด)
โอปะนะยิโก (เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว)
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ)

บทสวดและคำแปลบทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว)
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว)
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว)
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว)
ยะทิทัง (ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ)
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา (คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ)
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
อาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา)
ปาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ)
ทักขิเณยโย (เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)
อัญชะลีกะระณีโย (เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี)
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. (เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)

ควรสวดอิติปิโส กี่จบ และควรสวดอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

การสวดมนต์บท อิติปิโส ที่ถูกต้อง…สวดกี่จบก็ได้ (โดย ธรรมะจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี)

สาระสำคัญของการสวดมนต์แต่เดิมนั้นก็คือ การทบทวนหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะในสมัยโบราณนั้นยังไม่เน้นการเล่าเรียนโดยการอ่าน การเขียน การบันทึก วิธีการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมก็คือ การที่ครูบาอาจารย์ไปฟังมาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เมื่อฟังแล้วก็เพียรกำหนดจดจำเอาไว้ เมื่อกลับมายังที่พักหรือสำนักของตนก็นำมาถ่ายทอดต่อให้ลูกศิษย์ ศิษยานุศิษย์ก็คอยฟังจากคำของครู แล้วกำหนดจดจำไว้ด้วยการท่องบ่นจนจำขึ้นใจ พอจำขึ้นใจแล้ว วันต่อไปก็เรียนมนต์ (คำสอน) บทใหม่ต่อไป แต่ก่อนจะเรียนบทใหม่ก็ต้องทบทวนบทเก่าให้แม่นยำเสียก่อน

การเรียนพระธรรมคำสอนจากปากของครูบาอาจารย์โดยตรงนี้ เรียกว่า การศึกษาระบบ “มุขปาฐะ” (จากปากสู่ปาก) การทบทวนคำสอนเก่าก่อนเรียนคำสอนใหม่เรียกว่า “การต่อหนังสือ” เมื่อทำอยู่อย่างนี้จนเป็นกิจวัตร ต่อมาจึงพัฒนากลายเป็นการสวดมนต์ และพอทำเป็นประจำจึงเรียกการสวดมนต์ว่า “การทำวัตรสวดมนต์”
มนต์ที่เรานำมาสวดก็คือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง แต่ต่อมามีการประพันธ์พระธรรมคำสอนของพระองค์ให้อยู่ในรูปของฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์) เพื่อให้สวดง่าย จำง่าย ภายหลังก็มีการประพันธ์มนต์ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้สวดในงานต่างๆ หรือเพื่อหวังผลเป็นความสวัสดีมีชัย มนต์ที่แต่งเพิ่มเติมขึ้นมาภายหลังนี้ บางทีก็เรียกกันว่า “ปริตร” หรือ “พระปริตร” (แปลว่า เครื่องคุ้มครองป้องกัน)

การสวดมนต์ซึ่งแต่เดิมคือการเรียนพระธรรมคำสอน ค่อยๆ เลือนมาเป็นการสวดเพื่อทำเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่าการทำวัตรสวดมนต์ และจากนั้นก็คลี่คลายมาเป็นการสวดมนต์เพื่อความสวัสดีมีชัย

มาถึงยุคของเรา การสวดมนต์มีความหมายแคบลงมาอีก กลายเป็นการสวดเพื่อเอาบุญบ้าง สวดเพื่อสะเดาะเคราะห์บ้าง สวดเพื่อหวังลาภลอย หรือสวดในฐานะเป็นคาถาสำหรับคุ้มครองป้องกันหรือทำให้ทำมาค้าคล่องบ้าง นี่ก็นับเป็นวิวัฒนาการของการสวดมนต์ที่ควรทราบไว้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการเป็นชาวพุทธ อย่างน้อยก็จะได้ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบว่า ทุกวันนี้เราสวดมนต์ด้วยท่าทีอย่างไร ห่างออกไปจากเป้าหมายเดิมแท้มากน้อยแค่ไหน

การสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นบทอิติปิโส (สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย) ก็ดี บทชินบัญชรก็ดี ถ้าตั้งใจสวดจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะสวดสั้น สวดยาว สวดย่อ หรือสวดเต็ม ก็ได้บุญด้วยกันทั้งนั้น สาระสำคัญอยู่ที่ความตั้งใจเป็นหลัก ถ้าสวดอย่างมีสมาธิ บทเดียวก็ได้บุญมาก แต่ถ้าสวดแต่ปาก ทว่าใจฟุ้งซ่าน สวดยาวนานแค่ไหนก็คงได้บุญนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง

ดังนั้น ทุกๆ ครั้งที่สวดมนต์ไม่ควรไปยึดติดว่าเท่านั้นจบ เท่านี้จบ เอาเป็นว่าสวดให้จบแต่ละบทด้วยความตั้งใจที่เต็มร้อย แม้เพียงบทเดียวก็นับว่าได้บุญอย่างยิ่งแล้ว และเหนืออื่นใด สิ่งที่ไม่ควรลืมทุกครั้งเวลาสวดมนต์ก็คือ ควรพยายามทำความเข้าใจด้วยเสมอไป วิธีง่ายๆ ก็คือ ควรหาบทสวดมนต์แปลมาฝึกสวดด้วย สวดไปทำความเข้าใจไป ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอๆ วันหนึ่งการสวดมนต์ก็จะเป็นช่องทางให้บรรลุธรรมได้เหมือนกัน

เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า การสวดมนต์นับเป็นช่องทางหนึ่งของการบรรลุธรรม กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ “สวดเป็นก็เห็นธรรม”

อานิสงส์ของการสวดอิติปิโส

บทสวดนี้เป็นการรวมเอาถ้อยคำสำคัญ ๆ มาของพระพุทธองค์ ซึ่งเชื่อว่าทำให้ใจสงบ เมื่อมีใจสงบก็ย่อมมีสติ มีปัญหาอะไรก็ย่อมแก้ไขได้ไม่ยาก ยิ่งสวดเป็นประจำสม่ำเสมอ จึงมักมีสติปัญญาดี นิ่งสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตใจเข้มแข็ง ปัญญาดี หลับสบาย มีสมาธิ และแน่นอนเมื่อสติปัญญาดี การตัดสินใจถูกต้องแม่นยำ ผลที่ได้จึงมักจะประสบพบเจอแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต


บทสวดมนต์ ที่สวดอิติปิโสนำ


ที่มา:

  • เรื่องย่อมงคลสูตรคำฉันท์
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระนอน วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

(พระนอน วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธลักษณะพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู หรือ พระปางไสยาสน์ (พระประจำวันอังคาร) ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันว่า วัดโพธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระนอนที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา) อีกพิกัดไหว้พระประจำวันเกิด สำหรับท่านที่เกิดวันอังคาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์

พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน

ประวัติพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหญ่ด้านถนนมหาราช ของ วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดประจำรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)โดยฝีมือช่างสิบหมู่ ซึ่งหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงกำกับการก่อสร้างองค์พระเป็นปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ปางโปรดอสุรินทราหู หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก พระเศียรสู่ทิศใต้อันเป็นทิศหัวนอน พระบาทสู่ทิศเหนือเป็นปลายเท้า ตรงตาม‘ตำราสีหไสยา’

เอกลักษณ์สำคัญคือ ลายมงคล 108 ประดับมุกที่พื้นพระบาทของพระไสยาสน์เพื่อให้ถูกต้องตาม‘ตำรามหาปุริสลักษณะ’อันได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้าโดยช่างได้ประดับลายมงคล ด้วยลวดลายศิลปะไทยผสมจีน ซึ่งผสานกันได้อย่างประณีตศิลป์ อันนับเป็นงานประดับมุกชิ้นเอกในสมัยรัตนโกสินทร์

ตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

บทสวดบูชาพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธไสยาสน์ พระนอน วัดโพธิ์

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระประจำวันเสาร์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระพุทธรูปปางนาคปรก

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน 4 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 7 เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง

 

ประวัติพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก (พระประจำวันเสาร์) พระประธาน ที่ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า “พระนาคปรก” ดังปรากฏความใน จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ 1 ว่า

“…พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์…”

พระพุทธรูปประธาน วิหารทิศตะวันตก เจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนาคปรก และสร้างพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบเพิ่มเติม แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรี จากสุโขทัยมาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป รัชกาลที่ 4 จึงถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกบพิตร ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพุทธประวัติ ตอนนาคปรกนั่นเอง

 

ตำนานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

บทสวดบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

 

 

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

 

 

ประวัติ ตำนานแม่นาค พระโขนง เรื่องเล่าผีแม่นากพระโขนง

ตำนานแม่นาค พระโขนง

แม่นาคพระโขนง หรือแม่นาค ผัวชื่อมาก โดนเกณฑ์ทหาร ไปรบ ทิ้งให้นางนาคอยู่เพียงลำพังตั้งครรภ์ และเสียชีวิตขณะคลอด จึงกลายเป็นผีตายทั้งกลมตามตำนานผีแม่นาคพระโขนง วัดมหาบุศย์ที่เป็นที่รู้จักของไทยเรื่องตำนานรักอมตะ

ประวัติ ตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำ เมืองแปดริ้ว

ตำนานหลวงพ่อโสธร ลอยน้ำ จ.แปดริ้ว

ตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำ

พระพุทธลักษณะพระพุทธโสธร

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ (พระประจำวันพฤหัสบดี) พุทธศิลป์สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีทั้งประวัติและตำนานเล่าสิบต่อกันมา ซึ่งตำนานนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆตำนาน ที่เล่าสืบต่อกันมา เป็นตำนานที่ว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมา กับพระองค์อื่นอีก 2 องค์

ตำนานหลวงพ่อโสธร

ตำนานหลวงพ่อโสธร ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด มีเรื่องราวที่เล่าขานต่อๆกันมานาน ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ว่าในกาลครั้งนั้น มีชาวบ้านเห็นพระพุทธรูปลอยน้ำมา 3 องค์ ที่แม่น้ำบางปะกง

เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้

ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดงอภินิหารในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป

องค์หนึ่ง ลอยไปจนถึงแม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงคราม ชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม มาจนทุกวันนี้

องค์ที่สอง ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร

ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมา

องค์ที่สาม ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่ แต่ก็ไม่สำเร็จ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่

บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี และบางพื้นที่เล่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องหกองค์ โดยเพิ่ม หลวงปู่หิน วัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ด้วย

มีเรื่องราวที่เล่าขานกันมานานยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ว่าในกาลครั้งนั้น มีชาวบ้านเห็นพระพุทธรูปลอยน้ำมา 3 องค์ ที่แม่น้ำบางปะกง พอมาถึงบริเวณสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อว่าอะไรก็ไม่ประจักษ์ ชาวบ้านจึงให้ช่วยกันเอาเรือออกไปอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง ชาวบ้านช่วยกันยกขึ้นเรือแต่ไม่สามารถยกขึ้นมาได้สำเร็จ จึงเปลี่ยนวิธีเป็นการนำเชือกเส้นใหญ่คล้องกับองค์พระทั้ง 3 องค์ อย่างแน่นหนา แล้วให้ชาวบ้านช่วยกันชักลากเอาขึ้นมาบนฝั่ง แต่ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ แม้แรงชาวบ้านที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมายก็ไม่อาจจะฉุดดึงเอาองค์พระทั้ง 3 องค์ ที่ลอยปริ่มๆ น้ำอยู่ขึ้นมาได้ จนกระทั่งเชือกขาดก็ยังไม่สำเร็จ

ประกอบกับเกิดปาฏิหาริย์ กระแสน้ำปั่นป่วนขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ จมหายลับสายตาไปท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้านทั้งหมด เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านต่างพากันยกมือไหว้ท่วมศีรษะ บางคนก็พูดว่าไม่มีบุญเพียงพอที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 3องค์ ขึ้นมาได้

ผู้คนสมัยนั้นโจษขานกันต่างๆ นานา พากันคิดว่าอย่างนั้นคิดว่าอย่างนี้ ไปจนบางทีก็เลยเถิดไปไหนต่อไหน บ้างก็ว่า เทวดาฟ้าดินไม่โปรด หลวงพ่อก็ไม่ยอมมาประดิษฐานอยู่บนฝั่งน้ำ หากอัญเชิญขึ้นมาได้แล้วก็จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดทันที เรื่องราวการโจษขานกันไปมากมายนี้เลยทำให้ชาวบ้านพากันเรียกสถานที่ที่พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ มาสำแดงปาฏิหาริย์ลอยวนเวียนไปมาว่า “สามพระทวน” เรียกกันเรื่อยไปนานเข้าก็เพี้ยนกลายเป็น “สัมปทวน” กันไปในที่สุด

จากนั้นต่อมาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ที่ลอยน้ำมาในแม่น้ำบางปะกงก็ล่องลอยกันไปเรื่อยๆ องค์หนึ่งลอยไปทางบางพลี ไปผุดขึ้นที่ลำคลองวัดบางพลี ชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานเอาไว้ที่วัดบางพลีได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปองค์นี้ท่านต้องการจะประดิษฐานอยู่ ณ ที่ตรงนี้ก็ได้

หลังจากนั้นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง คือ หลวงพ่อโสธรได้แสดงอภินิหารลอยมาขึ้นที่หน้าวัดโสธร ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า วัดหงษ์ ชาวบ้านช่วยกันยกและฉุดขึ้นจากน้ำ แต่ไม่สามารถนำขึ้นได้ จนมีอาจารย์ผู้หนึ่งรู้วิธีอัญเชิญ โดยตั้งพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์ จนสามารถอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานในวิหารได้สำเร็จ ในราว พ.ศ.2313

ในการนี้จึงจัดให้มีการสมโภชฉลององค์หลวงพ่อ หลังจากท่านได้ประทับที่วัดหงส์เรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านยังไม่รู้ว่าจะขนานนามชื่อของหลวงพ่อว่าอย่างไร แต่เข้าใจว่าท่านคงต้องการชื่อเดิมของท่าน คือ “พระศรี” เพราะเป็นชื่อดั้งเดิมขณะประทับที่วัดศรีเมือง ทางภาคเหนือ ประกอบกับมีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าหลวงพ่อมีความ ประสงค์จะใช้นามว่า “หลวงพ่อพุทธศรีโสธร” เพราะได้เกิดพายุพัดเอาหงษ์ที่ตั้งอยู่บนยอดเสาหักลงมา ชาวบ้านจึงเปลี่ยนหงษ์เป็นเสาธง แล้วเรียกชื่อวัดหงษ์เป็นวัดเสาธง

ต่อมาไม่นานก็เกิดพายุพัดเสาธงหักทอนลงอีก ชาวบ้านจึงเรียกวัดเสาธง ว่า “วัดเสาธงทอน” ภายหลังเห็นว่าไม่ไพเราะ จึงได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดโสธร” และเรียกนามหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อโสธร” ต่อมาวัดโสธรได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นวัดหลวง ได้ชื่อว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” และขนานนามหลวงพ่ออย่างเป็นทางการว่า “หลวงพ่อพุทธโสธร

ประวัติพระ หลวงพ่อโสธร

บทสวดบูชาหลวงพ่อโสธร

สถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธร

ปัจจุบันหลวงพ่อโสธร ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถหลวง วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

รูปภาพ ตำนานหลวงพ่อโสธร

  • รูปภาพ ตำนานหลวงพ่อโสธร

หลวงพ่อโสธร พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา พระประจำวันพฤหัสบดี

พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา พระพุทธรูปปางสมาธิ

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธโสธร

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ (พระประจำวันพฤหัสบดี) คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติพระพุทธโสธร

ตามประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อโสธรน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯ มาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ราวรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2(เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาตอนต้น (อู่ทองรุ่นที่ 2) ประทับบนพุทธบังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ซึ่งเป็นรูปแบบพุทธศิลป์ที่นิยมกันมากในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก 10 องค์ ที่ประดิษฐานรวมกันบนฐานชุกชี ซึ่งมีพุทธลักษณะแบบอยุธยา เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร โดยพระพุทธรูป 2 ใน 10 องค์นั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ ที่สร้างขึ้นจากหินทราย ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้น

ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯ และองค์หลวงพ่อโสธร น่าจะตั้งอยู่บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานแล้ว และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมา ตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งเดิมที วัดนี้ก็ชื่อ วัดโสธร อยู่ก่อนตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรแต่อย่างใด

ครั้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง โดยกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

 

ตำนานพระพุทธโสธร

ตาม ตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำ มานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญ ที่มีภูมิลำเนาพักอาศัยบริเวณโดยรอบของวัดโสธร ที่นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร พระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

บทสวดบูชาหลวงพ่อโสธร

บทสวด คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร

 

งานประเพณีวัดหลวงพ่อโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรประจำปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในงานร่วมชมพิธีเปิดงานและชมขบวนความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธร ทางน้ำ เพื่อร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธรงานแห่ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมร่วมนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ส่วนราชการ สินค้าราคาถูกจากบริษัท ห้างร้านมอเตอร์โชว์ การชมคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้องชื่อดัง พร้อมกับซื้อสินค้าราคาถูก และชมการแสดงมหรสพอื่น ๆ อีกมากมายตลอดงาน งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ

  1. งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
  2. งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน
  3. งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน

 

รูปภาพหลวงพ่อโสธร

รูปภาพพระพุทธโสธร

 

 

 

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart