วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถวันสำคัญทางพุทธศาสนา
วันพระ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศอินเดีย ดินแดนถิ่นกำเนิดศาสนาพุทธ
ธรรมสวนะ มาจาก ธรรม และ สวนะ คำว่า “สวนะ” แปลว่า การฟัง และคำว่า “ธรรมสวนะ” จึงหมายถึง การฟังธรรม และ “วันธรรมสวนะ” จึงหมายถึง วันฟังธรรม ส่วน “วันพระ” เป็นภาษาพูด เพราะคำว่า “พระ” นั้น ใช้เรียกภิกษุจำนวนมากกว่า 4 รูป ขึ้นไป ซึ่งหมายถึงความเป็นหมู่คณะจึงเรียกว่า พระ หรือ สงฆ์ โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า “วันอุโบสถ” หรือวันลงอุโบสถ อันหมายถึง วันถือศีลของอุบาสกและอุบาสิกาผู้มีศรัทธา ร่วมกันฟังเทศน์ฟังธรรม ประพฤติและปฏิบัติตามธรรมสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน วันพระ วันธรรมสวนะ วันอุโบสถ จึงเป็นวันเดียวกันแต่เรียกขานได้ตามความสะดวก
ประวัติความเป็นมาของวันธรรมสวนะ (วันพระ)
สมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระวิหารชื่อว่าเชตวัน และกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แลเห็น ซึ่งนักบวชศาสนาอื่นอีก ได้มีวันกำหนดนัดหมายประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในที่ประชุมของเขาทั้งหลาย เหล่านั้น แต่ว่า ข้าแแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนศาสนาพุทธของเราทั้งหลายย่อมมีวันกำหนดนัดหมายเพื่อประชุมกันหามิได้ ดังนี้” อันพระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสงฆ์สาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ หรือว่า วันขึ้น14 ค่ำ หรือว่า วันขึ้น 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันเพื่อฟังธรรม
ครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมเหล่าภิกษุสงฆ์สาวกเพื่อทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในช่วงเข้าพรรษา การประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้นก็ได้นัดหมายกันไปในที่ประชุม ต้องมีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งเป็นองค์สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์สาวกที่ร่วมเข้าฟังพระปาฏิโมกข์ ก็จะพร้อมเพียงกันสำรวมกาย วาจา และตั้งใจฟังจนกระทั่งสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธี
วันพระตามปฏิทินจันทรคติ
วันพระที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ มีเดือนละ 4 วัน คือ
- วันพระขึ้น 8 ค่ำ เป็นวันพระข้างขึ้น มีพระจันทร์ครึ่งดวง
- วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) เป็นวันพระข้างขึ้น มีจันทร์เต็มดวง
- วันแรม 8 ค่ำ เป็นวันพระที่ตรงกับข้างแรม มีพระจันทร์ครึ่งดวง
- วันแรม 15 ค่ำ เป็นวันพระในคืนเดือนมืด (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ทำไมถึงต้องมีวันพระ ?
สมัยพุทธกาล วันพระ คือวันที่กำหนดนัดหมายประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในที่ประชุมของนักบวชศาสนาอื่นๆ ซึ่งเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกศาสนา) ที่จัดประชุมกันเพื่อแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงยังไม่ได้กำหนดวันพระไว้ คราว พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระวิหารเชตวัน และกราบทูลว่า ข้าพระองค์แลเห็นนักบวชศาสนาอื่นได้มีวันกำหนดนัดหมายประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในที่ประชุมของเขาทั้งหลาย แต่เหตุอันใดศาสนาพุทธของเราหาได้มีวันกำหนดนัดหมายเพื่อประชุมหารือฟังข้อธรรมะกันบ้าง หลังการณ์นั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น “วันธรรมสวนะ” กำหนดให้มีการประชุมโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อฟังธรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาคำสอนของศาสนาพุทธอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วันพระในประเทศไทย
ประเทศไทยพบหลักฐานของประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และถือเอาวันพระเป็นวันหยุดราชการ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปีปฏิทินทางสุริยะคติอย่างตะวันตกและให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดราชการตามสากล วันพระที่ถือเป็นวันหยุดจึงถูกยกเลิกไป ด้วยเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนิกชน ห่างเหินจากธรรมะห่างจากการถืออุโบสถศีล ด้วยวันพระเป็นวันทำงานของสังคมปัจจุบัน ไม่สะดวกที่จะเข้าวัดฟังธรรม
วันพระในอดีตกาล
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันพระในปัจจุบัน
คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
วันพระ จึงเป็นวันที่ชาวพุทธไม่ควรละเลย ในการถือศีล ฟังธรรม ซึ่งเป็นการทำบุญ สามารถทำได้ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็สามารถฟังธรรมเทศนาผ่านช่องทางการสื่อสารที่สะดวก เช่นทางออนไลน์ ถือศีลห้า ศีลแปด ปฏิบัติธรรมด้วยการสำรวมกาย วาจา ใจ ที่บ้านก็สวดมนต์ทำสมาธิ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน new normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ถึงจะห่างวัดแต่ก็ไม่ห่างหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
ความสำคัญของวันพระ
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนพระสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
- เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ
- การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันพระ
สิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำในวันพระ คือ การถือศีลอุโบสถ (ศีล 8 ที่อาราธนาในวันพระเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน หรือ 3 วัน 3 คืน และไม่จำเป็นต้องอยู่วัด) อย่างเคร่งครัด
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ
ที่มาขอ้มูลวันพระ วันธรรมสวนะ :
- เว็บไซต์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- เว็บไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Leave a comment