คาถาบูชาพระประจำวันศุกร์ พระปางรำพึง
เหตุที่พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์กำหนดเป็นพระปางรำพึง เป็นพระประจำวันศุกร์ เพราะดาวศุกร์เป็นตัวแทนเกี่ยวกับโลกีย์ ที่ต้องใช้อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงจินตนาการเข้าช่วย แล้วยังพ้องเสียงกับคำว่า “สุข” ที่มักไปในทางโลก รวมถึงการเกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปะ บันเทิงด้วย ดังนั้น การที่กำหนดปางรำพึงอันเป็นปางที่พระพุทธเจ้าทรงครุ่นคิดถึงธรรมะที่ทรงตรัสรู้อันเป็นเรื่องทวนกระแสใจของมนุษย์ จึงคล้ายๆกับการคิดในทางตรงกันข้าม เป็นการเตือนให้เราอย่าหลงระเริงไปในทางโลกให้มาก และให้ระลึกถึงหลักธรรมคำสั่งสอนไว้อยู่เสมอ ชีวิตจึงจะมีความสุข
พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางรำพึง
พระพุทธรูปปางรำพึง เป็นพระประจำวันศุกร์ พระประจำวันเกิดปางนี้ ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน ยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์ ฉบับเต็ม
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
(สวด ๒๑ จบ)
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
คาถาสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์ใช้สวดภาวนาวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสำราญเนืองนิตย์ และป้องกันยักษ์ผีปีศาจต่างๆพระพุทธรูปท่านควรมีไว้
ประจำตัวคือ พระพุทธรูปปางรำพึง ไว้สักการะบูชาในบ้านเป็นสิริมงคลดี พระท่านว่าเป็นการดีนักแลฯ
บทสวดบูชาพระประจําวันศุกร์ แบบย่อ:
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
สวด ๒๑ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต
พิกัด ไหว้พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง
- พระพุทธรูปปางรำพึง ประจำวันศุกร์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
- หลวงพ่อพุทธรำพึง วัดถนนสุธาราม จ.อ่างทอง
ที่มาของประวัติความเป็นมา:
- เว็บไซต์ ฐานข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น - กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
Leave a comment