คาถาบูชาพระประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน
รวมคาถาบูชาพระประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน มี 8 บทแยกบูชาพระประจำวันเกิดของวันพุธกลางวัน และวันพุธกลางคืน การสวดบูชาพระประจำวันเกิดเพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต
คาถาบูชาพระประจำวันอาทิตย์ แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ
สวด ๖ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันอาทิตย์ แบบเต็ม
พระประจำวันอาทิตย์
พระปางถวายเนตรเป็นพระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธจริยาที่ทรงเพ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิโดยไม่กระพริบพระเนตรถึง ๗ วันนี้ เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า “พระปางถวายเนตร” นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปที่สักการบูชาพระประจำวันคนเกิดวันอาทิตย์
พระพุทธรูปปางถวายเนตรในพระอริยาบถประทับยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิพฤกษ์พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานทับกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร
คาถาบูชาพระประจำวันจันทร์ แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)ร์
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
สวด ๑๕ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันจันทร์ แบบเต็ม
พระประจำวันจันทร์
พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันจันทร์ กำหนดเป็นดพระปางห้ามสมุทรและพระปางห้ามญาติ เป็นพระประจำวันจันทร์ เพราะทางโหราศาสตร์ ดาวจันทร์หรือดวงจันทร์จะมีความหมายถึงรูปร่างหน้าตา ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการ ผู้ที่เกิดวันนี้จึงมักมีอารมณ์อ่อนไหว ปรับตัวง่าย นอกจากนี้ดาวจันทร์ยังหมายถึงญาติพี่น้อง และจัดเป็นธาตุน้ำ ซึ่งทั้งสองปางนี้ตามพุทธประวัติล้วนเกี่ยวข้องกับน้ำและญาติ ซึ่งนัยก็คือการเตือนให้ระลึกถึงความสามัคคีในหมู่พี่น้อง และยังได้พูดถึงอานิสงส์แห่งการบูชาพระปางนี้ว่าจะช่วยห้ามทุกข์ ห้ามโศก ห้ามโรคห้ามภัย ฯลฯ ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงห้ามน้ำ ห้ามฝนพายุ ครั้งทรมานให้พวกชฎิลยอมละทิฐิ
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม ต่างกันที่ปางห้ามญาติที่ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นห้ามเพียงข้างเดียว
คาถาบูชาพระประจำวันอังคาร แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
สวด ๘ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันอังคาร แบบเต็ม
พระประจำวันอังคาร
พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร กำหนดเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระปางปรินิพพาน เป็นพระประจำวันอังคาร เพราะดาวอังคารจัดเป็นดาวพิฆาตหรือดาวมรณะ และยังเป็นดาวเกี่ยวกับสงคราม และอุบัติเหตุ ดังนั้น ปางนี้จึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้คนวันนี้ดำรงชีวิตด้วยความมีสติ ระมัดระวังไม่ไปก่อเหตุกับใคร อีกทั้งวันที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานก็ตรงกับวันองคาร ส่วนที่กล่าวถึงการโปรดอสุรินทราหู นั้นน่าจะหมายถึงการขจัดความมัวเมาลุ่มหลง เห็นผิดเป็นชอบ อันเป็นลักษณะของพระราหูด้วย
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
คาถาบูชาพระประจำวันพุธกลางวัน แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
สวด ๑๗ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันพุธกลางวัน แบบเต็ม
พระประจำวันพุธกลางวัน
พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันพุธกลางวัน กำหนดเป็นพระปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ(กลางวัน) ด้วยดาวพุธเป็นตัวแทนของการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง พาหนะ พืชพันธุ์ธัญญาหารและเรื่องที่เกี่ยวกับปากท้อง ซึ่งตรงกับลักษณะการออกไปบิณฑบาตที่ต้องออกไปหาอาหารเพื่อปากท้อง ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการไปโปรดสัตว์ คอยสังเกตุทุกข์สุขของชาวบ้านเพื่อสอนธรรมะในการดับทุกข์ ปางนี้ถือกันว่าเมื่อบูชาแล้วจะประสบแต่ความอุดมสมบูรณ์ ไม่อดอยาก และมีเสน่ห์เมตตามหานิยม
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคองได้ นิยมเรียกว่า “ปางอุ้มบาตร” นิยมสร้างขึ้นเป็นประจำวันของคนเกิดวันพุธกลางวัน
คาถาบูชาพระประจำวันพุธกลางคืน แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ
สวด ๑๒ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันพุธ กลางคืน
พระประจำวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันพุธกลางคืน หรือวันราหู กำหนดเป็นพระปางป่าเลไลยก์ เป็นพระประจำวันพุธกลางคืน ด้วยพระราหูมีความหมายถึงอบายมุข สิ่งเสพติด นักเลงอันธพาล อันส่งผลให้เกิดความมัวเมา ลุ่มหลง เชื่อคนง่าย เอาแต่ใจตนเอง ไม่มีเหตุผล ดังนั้น ปางป่าเลไลย์ฯอันเป็นเวลาที่พระพุทธองค์ทรงปลีกวิเวก หนีไปจากพระสงฆ์ที่ชอบทะเลาะวิวาท ไม่ฟังโอวาท ถือทิฐิ จนเป็นเหตุให้ต่างต้องได้รับความลำบากกันเองนั้น จึงเสมือนการเตือนสติให้เราอย่าหลงผิด อย่าดื้อดึงจนเป็นเหตุให้ตัวเองต้องเดือดร้อน
พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนแท่นศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย นิยมสร้างขึ้นเป็นประจำวันของคนเกิดวันพุธกลางคืน
คาถาบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
สวด ๑๙ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี แบบเต็ม
พระประจำวันพฤหัสบดี
เหตุที่พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดีกำหนดเป็นพระปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ เป็นพระประจำวันพฤหัสบดี ด้วยเพราะดาวพฤหัสบดีมีความหมายถึง ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ศาสนาศีลธรรม และสติปัญญา ฯลฯ อีกทั้งยังถือเป็นวันครู ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นพระบรมครูที่ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทและเหล่าเวไนยสัตว์ ซึ่งปางตรัสรู้นี้จึงสอดคล้องกับลักษณะดาวพฤหัสบดีพอดี
พระพุทธรูปปางสมาธิ ในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ (นั่ง) พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
คาถาบูชาพระประจำวันศุกร์ แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
สวด ๒๑ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันศุกร์
พระประจำวันศุกร์
พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์กำหนดเป็นพระปางรำพึง เป็นพระประจำวันศุกร์ เพราะดาวศุกร์เป็นตัวแทนเกี่ยวกับโลกีย์ ที่ต้องใช้อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงจินตนาการเข้าช่วย แล้วยังพ้องเสียงกับคำว่า “สุข” ที่มักไปในทางโลก รวมถึงการเกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปะ บันเทิงด้วย ดังนั้น การที่กำหนดปางรำพึงอันเป็นปางที่พระพุทธเจ้าทรงครุ่นคิดถึงธรรมะที่ทรงตรัสรู้อันเป็นเรื่องทวนกระแสใจของมนุษย์ จึงคล้ายๆกับการคิดในทางตรงกันข้าม เป็นการเตือนให้เราอย่าหลงระเริงไปในทางโลกให้มาก และให้ระลึกถึงหลักธรรมคำสั่งสอนไว้อยู่เสมอ ชีวิตจึงจะมีความสุข
พระพุทธรูปปางรำพึง ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน ยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
คาถาบูชาพระประจำวันเสาร์ แบบย่อ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
สวด ๑๐ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาบูชาพระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเสาร์
เหตุที่พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์กำหนดเป็นพระปางนาคปรกเป็นพระประจำวันเสาร์ เพราะวันเสาร์เป็นวันแข็งและดาวเสาร์ก็เป็นดาวบาปเคราะห์ใหญ่ ผู้ที่เกิดวันนี้จึงมักอาภัพ มักมีเรื่องทุกข์ใจ ผิดหวัง และพบเจออุปสรรคอยู่เสมอ ดังนั้น โบราณจึงให้พระนาคปรก เป็นพระประจำวันเสาร์ เปรียบเสมือนให้พญานาคราชได้แผ่พังพานปกป้องคุ้มครองให้เจ้าชะตาพ้นทุกข์และภัยพิบัติต่างๆ อีกทั้งดาวเสาร์ยังใช้เลข ๗ เป็นสัญลักษณ์ซึ่งตรงกับเศียรพญานาคและการวงขนดเป็น ๗ รอบ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าพระปางนี้ศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา ซึ่งสอนทางอ้อมให้ระลึกถึงอานิสงส์ของความเมตตาที่จะเกิดผลดีต่อ ผู้ปฏิบัติ ดังที่พญานาคยังขึ้นจากน้ำมาถวายอารักขาพระพุทธเจ้าก็ด้วยพลานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่สัมผัสได้ ดังนั้น คนวันเสาร์ที่มักเป็นคนเจ้าทุกข์ เขาจึงให้ฝึกมีเมตตาอยู่เสมอ เพื่อให้ทุกข์คลายลง
พระพุทธรูปปางนาคปรก ในพระอริยาบถประทับขัดสมาธิ (นั่ง) หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ที่มาของประวัติความเป็นมา:
- เว็บไซต์ ฐานข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น - กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
Leave a comment